วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การส่งสการ

"การส่งสการ"


พูดง่ายๆก็คือพิธีเกี่ยวกับการปลงศพของชาวล้านนามักจะมีศิลปะการตกแต่งและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจมีองค์ประกอบต่างๆเช่นเครื่องใช้สิ่งอื่นๆที่ประกอบพิธีถูกกำหนดไว้อย่างสวยงาม ชาวล้านนาถือว่าเป็นพิธีการที่ยกย่องผู้ตาย แต่จะเป็นพิธีของผู้มีเงินและอำนาจเพราะต้องใช้เงินและผู้คนเป็นจำนวนมาก....

องค์ประกอบของพิธีส่งสการมีอยู่๙อย่างคือ...
  • ตุงสามหาง** เป็นธงสัญญลักษณ์ของงานศพ มีชายอยู่๓ชาย ความหมายอาจมีอยู่๒แบบคืออาจหมายถึงความทุกข์หรือหมายถึงความไม่แน่นอน คนถือมักเป็นคนที่ฉลาดหลักแหลม


  • ถุงข้าวด่วน** ความหมายจะแสดงถึงความห่วงใยของญาติพี่น้องที่ต้องการให้ผู้ตายได้มีสเบียงไปด้วยดดยจะมีการบรรจุ ข้าว,ปลา,อาหารและเมี่ยงในลักษณะที่พร้อมจะรับประทานได้


  • หม้อไฟ** ถือเป็นการสืบเนื่องมาจากสมัยก่อน เป็นหม้อดินที่นำไปในป่าช้าปัจจุบันไม่ใช่ของที่หาง่ายแต่ก็ยังใช้กันอยู่ถึงตอนนี้จะไม่ได้ใช้ไฟในนั้นแล้ว


  • พระสงฆ์บนเสลี่ยง** มีหน้าที่ในการอ่านคัมภีร์ซึ่งชาวล้านนาได้ถือว่าเป็นสิ่งจารึกธรรมที่สูงสุดโดยเรียกได้๒แบบคือพระอภิธัมมัตถสังคหะหรือพระอภิธัม๗คัมภีร์


  • บังสุกุลจีวร** ผ้าที่วางให้พระสงฆ์พิจารณาหน้าศพ


  • เสลี่ยงเครื่องบูชาศพ** จะประกอบด้วย-ตุงหรือธงโดยชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณจะจับหางตุงลอยไปสวรรค์บางคนก็คิดว่าหมายถึงทางดีและชั่ว๑๖ทาง(ดี๘ ชั่ว๘)โดยตุงจะเตือนใจว่า"ถ้าเดินทางดีก็มีผลเป็นสุข ถ้าไม่ดีก็มีผลเป็นทุกข์" -น้ำมะพร้าว เชื่อว่าเมื่อนำน้ำมะพร้าวไปล้างอะไรก็จะทำให้สิ่งนั้นบริสุทธิ์ -บาตรบอกว่าผู้ตายสนใจการทำบุญไม่ขี้เหนียวในการทำบุญ


  • สามเณรบวชจูงศพ** ส่วนใหญ่นิยมบวชหน้าศพเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ตายแต่ชาวล้านนานิยมให้จูงศพไปสุสานด้วย โดยเรียกพิธีนี้ว่าการ..บวชจูงพิธีการคือผู้บวชจะจูงฝ้ายดิบจำนวน๙ห่วงผูกสลับกันไปมาโดยไปดยงกับฝาโลงจำนวน๙ห่วงเปรียบเหมือนกับการเปล่งวาจาของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างละ๓ครั้งหรือเรียกอีกอย่างว่า"สรณคมน์๙บั้ง"เป็นการนำผู้ตายไปสู่ปรโลกบางครั้งเชื่อว่าเป็นสายญาติผู้ตายอยู่กลายไปหน้า๔ไปหลังอีก๔


  • ปราสาทศพ** มีการตกแต่งด้วยกระดาษสา รอบๆมีขันเงินใส่ดอกไม้ ลวดลายเป็นแบบโบราณได้จากอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่,อำเภอหางดง,อำเภอสันทราย


  • ดนตรีพื้นเมือง** มักจะบรรเลงเพลงพื้นเมืองเช่น เพลงปราสาทไหว เนือ้หาเพลงส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเศร้าและความอ่อนแอ


***เพิ่มเติม***

  • เวลาผู้หญิงในงานจะใส่ผ้าซิ่นลายขาวกับดำอย่างพื้นเมืองมีราคาประหยัดบางครั้งก็จะพาดผ้าจว้ายหรือผ้าพาดเฉลียงซึ่งเป็นที่นิยมในพิธีกรรม
  • มีพิธีที่ประกอบกับพิธีนี้คือพิธี"ผัดตาสินหรือประทักษิณ"หรือถ้าเป็นภาษาง่ายๆคือการเดินเวียนศพ๓รอบนิยมให้หญิงซ้ายชายขวานิยมให้ลูกหลานเดิน
  • จริงๆมีพิธีอีกพิธีแต่ไม่ได้ทำกันแล้วคือพิธี"พิธีหงมะนาว"หรือง่ายๆคือการโปรยทานเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมการแบ่งปันซึ่งเป็นหัวใจของชาวล้านนา
  • บอกไฟ(บ้องไฟ) มีหลายชนิดเช่นบอกไฟหล่อ,บอกไฟเทียน,บอกไฟดาว,บอกไฟช้างร้อง สันนิษฐานว่าช่วยในการยับยั้งอารมณ์โศกเศร้าของญาติให้เปลี่ยนไปสนใจกับเสียงของบอกไฟแทน

//อ้างอิง//

-ศาสตราจารย์ มณี พยอมยงค์.๒๕๕๒.การส่งสการ(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/lannafolkclub/skarn.html(๒๑ก.ค.๕๒)

-อ.วิถี พานิชพันธ์ คุณจ้อย จิตติเดชารักษ์ และดร. เพียงใจ วิสุทธิ์เสรีวงศ์.๒๕๕๒.การส่งสการ(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=153(๒๑ก.ค.๕๒)